นักวิจัย มช. นำทีมพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ตัวอย่างจากกระดาษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้นทุนต่ำ และนำไปใช้ตรวจวัดภาคสนามได้หลากหลาย

"นักวิจัย มช. นำทีมพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ตัวอย่างจากกระดาษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้นทุนต่ำ และนำไปใช้ตรวจวัดภาคสนามได้หลากหลาย"

.

ทีมวิจัย กลุ่มวิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ เพื่อเศรษฐกิจและสังคม บนความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ (อาจารย์) สังกัด ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์, รศ. ดร. ภก. เฉลิมพงษ์ แสนจุ้ม (อาจารย์) สังกัด ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์, ดร. กนกวรรณ คิวฝอ (นักวิจัยหลังปริญญาเอก) ร่วมกับ Assoc. Prof. Dr. Pei Meng Woi (อาจารย์) สังกัด Chemistry Department, Faculty of Science, University of Malaya ประเทศมาเลเซีย


ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์การวิเคราะห์ที่ใช้กระดาษ ซึ่งเป็นระบบการวิเคราะห์ทางเคมีแบบใหม่ และเป็นเคมีสะอาด (Green Analytical Chemistry) โดยนำอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมาปรับใช้ รวมถึงเครื่องปรินท์และตัดสติ๊กเกอร์ (cutting printer) เพื่อประดิษฐ์ชิ้นอุปกรณ์ในปริมาณมากๆ ที่มีต้นทุนต่ำ ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ตรวจวัด และเพิ่มประโยชน์ในการดำเนินการวิเคราะห์


สามารถนำไปใช้ในการตรวจวัดในภาคสนาม (point of care analysis) สำหรับการประยุกต์ใช้ที่หลากหลาย เช่น ทางเภสัชกรรม (วิเคราะห์เหล็กในน้ำบำรุงเลือด) ทางสิ่งแวดล้อม (เหล็กและความกระด้างของน้ำ) และทางเกษตรกรรม (ฟอสเฟตในปุ๋ย) เป็นต้น


งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือทางวิชาการของนักวิจัยหลากหลายรุ่น (generation) จากหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ ได้ผลลัพธ์เป็นอุปกรณ์การวิเคราะห์ที่มีต้นทุนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดำเนินการโดยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงใช้งานได้ในพื้นที่ที่มีสภาวะต่างๆ ของประเทศไทย รวมถึงพื้นที่ที่มีงบประมาณจำกัด

.

งานวิจัยถูกตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำทางเคมีวิเคราะห์ Talanta (Q1 ISI/Scopus, Impact Factor 6.057)

.

อ่านบทความวิจัยได้ที่ https://doi.org/10.1016/j.talanta.2021.122848

Powered by Froala Editor