นักวิจัยคณะวิทย์ มช. ร่วมทีม ม.เกษตร จุฬาฯ และนักวิจัยต่างชาติ พัฒนานวัตกรรมนาโนวัคซีนป้องกันการเกิดโรคในปลานิล

นักวิจัยคณะวิทย์ มช. ร่วมทีม ม.เกษตร จุฬาฯ และนักวิจัยต่างชาติ พัฒนานวัตกรรมนาโนวัคซีนป้องกันการเกิดโรคในปลานิล

.

นักวิจัยคณะวิทย์ มช. ร่วมทีม ม.เกษตร จุฬาฯ และนักวิจัยต่างชาติ พัฒนานวัตกรรมนาโนวัคซีนประจุบวก ป้องกันการเกิดโรคฟรานซิสเซลโลซิสและโรคเหงือกเน่าในปลานิล ภายใต้งานวิจัยในหัวข้อ Development of a bivalent mucoadhesive nanovaccine to prevent francisellosis and columnaris diseases in Nile tilapia (𝑂𝑟𝑒𝑜𝑐ℎ𝑟𝑜𝑚𝑖𝑠 𝑛𝑖𝑙𝑜𝑡𝑖𝑐𝑢𝑠) โดยวัคซีนที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นแนวทางสำคัญในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ทั่วประเทศ 

.

การเกิดโรคฟรานซิสเซลโลซิส (francisellosis) ที่มีสาเหตุจากเชื้อ 𝐹𝑟𝑎𝑛𝑐𝑖𝑠𝑒𝑙𝑙𝑎 𝑜𝑟𝑖𝑒𝑛𝑡𝑎𝑙𝑖𝑠 𝑠𝑝. 𝑛𝑜𝑣. และโรคเหงือกเน่า (columnaris) ที่มีสาเหตุจากเชื้อ 𝐹𝑙𝑎𝑣𝑜𝑏𝑎𝑐𝑡𝑒𝑟𝑖𝑢𝑚 𝑜𝑟𝑒𝑜𝑐ℎ𝑟𝑜𝑚𝑖𝑠 ส่งผลกระทบต่อผลผลิตโดยรวมของปลานิลในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารประเภทโปรตีนที่สำคัญของประเทศไทย 

.

ทางคณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมนาโนวัคซีนประจุบวกเกาะติดเยื่อเมือก สำหรับป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิดพร้อมกัน โดยวิธีการแช่ (bivalent mucoadhesive immersion nanovaccine) วัคซีนที่ใช้เป็นชนิดเชื้อตาย โดยใช้เทคโนโลยี nanoencapsulation ในการกักเก็บวัคซีนภายในอนุภาคนาโนอิมัลชัน ที่ห่อหุ้มด้วยสารลดแรงตึงผิวประจุบวก (cationic lipid surfactant) และมีการทดสอบและวิเคราะห์สมบัติต่าง ๆ ของอนุภาคนาโนวัคซีน ทั้งทางด้านเคมีฟิสิกส์และด้านชีวภาพ

.

จากนั้นจึงทำการทดสอบประสิทธิภาพการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีน โดยตรวจหาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันวิทยาในปลานิลที่ผ่านการให้วัคซีน เปรียบเทียบกับปลานิลที่ไม่ได้ให้วัคซีนในระดับห้องปฏิบัติการ เช่น การวัดปริมาณแอนติบอดี้ด้วยเทคนิค enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) การตรวจการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน โดยวิธีการ quantitative real time PCR เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการทดสอบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของเนื้อเยื่อต่าง ๆ จากปลานิลหลังได้รับวัคซีนในระดับห้องปฏิบัติการอีกด้วย

.

ผลการทดลองพบว่า นาโนวัคซีนที่พัฒนาขึ้นมีศักยภาพในการกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อทั้งสอง และเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในปลานิลที่ได้รับวัคซีนทั้งแบบไม่จำเพาะ (innate immunity)

.

ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Fish & Shellfish Immunology

DOI: https://doi.org/10.1016/j.fsi.2023.108813

Powered by Froala Editor